0

รู้จัก และ รับมือกับโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน (BA.4/BA.5)


2019-06-12 14:46:26
#โควิด-19 #โควิด #โอมิครอน #ภูมิคุ้มกัน
ช่วงนี้โควิดกลับมาระบาดอีกครั้งในสายพันธุ์ โอมิครอน (BA.4/BA.5) โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คนใกล้ชิดก็เริ่มทยอยติดเชื้อกันเพิ่มขึ้น
.
?? สิ่งที่น่ากลัวสำหรับสายพันธุ์นี้??
▪สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ดีในปอด 
▪เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ 
▪สามารถแพร่ระบาดได้ง่าย และ รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม
▪หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเก่ง 
▪เคยติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนแล้วก็ติดเชื้อซ้ำได้ (วัคซีนได้ผลน้อยลง)
.
ผู้ติดเชื้อในระลอกนี้จะมีอาการอะไรบ้าง และต้องปฎิบัติตัวอย่างไร ต้องแยกตัวกี่วัน ต้องกินยาต้านไวรัสหรือไม่ และติดเชื้อแล้วยังรักษาฟรีอยู่หรือไม่ 
?? ผู้ติดเชื้อมีอาการอะไรบ้าง ??
.
ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 5-10 วัน โดยไม่ต้องรับประทานยาต้านไวรัส อาการจากการติดเชื้อ BA.5 ไม่ต่างจากโอมิครอนมากนัก คือ
▪อ่อนเพลีย 
▪เหนื่อยง่าย
▪ไอแห้ง
▪เจ็บคอ
▪ไข้
▪มีน้ำมูก
▪ปวดศีรษะ 
▪คลื่นไส้
▪ปวดเมื่อยตามร่างกาย
▪ถ่ายเหลว
▪ ไม่ค่อยพบอาการจมูกไม่ได้กลิ่น / ลิ้นไม่รับรสเหมือนสายพันธุ์อัลฟาและเดลตา
.
ผู้ติดเชื้อบางส่วนไม่มีอาการเลย
.
?? ผู้ติดเชื้อต้องแยกตัวกี่วัน ??
.
การแยกตัว (Isolation) เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อต่อไปให้ผู้อื่น ปัจจุบันคำแนะนำของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คือ 10 วัน นับจากวันที่มีอาการหรือวันตรวจพบเชื้อ 
.
สำหรับผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล เมื่ออาการดีขึ้นแพทย์อาจให้อยู่โรงพยาบาล 5-7 วัน และกลับไปแยกตัวต่อที่บ้านจนครบ 10 วัน
.
?? ฉีดวัคซีนแล้วป้องกันได้แค่ไหน ??
ข้อมูลจากการศึกษาผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่ฉีดวัคซีนและมีอาการเล็กน้อยเมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่าสามารถแพร่เชื้อได้ 6-9 วันหลังมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ และข้อมูลจากการวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร NEJM พบว่า ระยะเวลาตั้งแต่ตรวจพบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจนถึงไม่สามารถเพาะเชื้อได้เท่ากับ 5 วัน 
.
ดังนั้นระยะเวลา 10 วันจึงปลอดภัยที่สุด 
.
?? สังเกตอาการที่บ้านอย่างไร ??
.
▪ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมง 
▪ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำกว่า 94%  
▪หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที
.
?? ต้องกินยาต้านไวรัสหรือไม่ ??
.
ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่หายได้เองโดยไม่ต้องรับประทานยาต้านไวรัส หากเป็นกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงหรือฉีดวัคซีนครบตามกำหนด (รวมเข็มกระตุ้น) แล้ว สามารถรักษาที่บ้าน โดยรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานซิงค์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในช่วงนี้อาจรับประทาน 2 เม็ดต่อวัน
และสังเกตอาการตนเอง หากหอบเหนื่อย / หายใจลำบากให้รีบไปโรงพยาบาล
.
ปัจจุบันคำแนะนำของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แบ่งผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
.
? สีเขียว ?
▪ไม่มีอาการหรือสบายดี รักษาตามอาการได้ที่บ้าน อาจให้ยาฟ้าทะลายโจร 
▪มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง อาจให้ยาฟาวิพิราเวียร์ หากตรวจพบเชื้อเมื่อมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน 
▪ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส
.
? สีเหลือง ? คือกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง หรือกลุ่มที่มีภาวะปอดอักเสบ ให้ยาต้านไวรัส 1 ชนิด ภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ เรียงลำดับยาที่เลือกใช้ คือ
(1) โมลนูพิราเวียร์
(2) เรมเดซิเวียร์ 
(3) แพ็กซ์โลวิด 
(4) ฟาวิพิราเวียร์
.
? สีแดง ? คือกลุ่มที่มีภาวะปอดอักเสบรุนแรง ระดับออกซิเจนในเลือด ≤ 94% ให้ยาเรมเดซิเวียร์และยาสเตียรอยด์


?? การรักษาฟรีตามสิทธิการรักษา ??
ผู้ป่วยโควิดยังได้รับการรักษาฟรี แต่ผู้ป่วยจะต้องไปตามสิทธิการรักษาของตนเอง 
.
▪สิทธิบัตรทอง: หน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น โรงพยาบาลประจำอำเภอ / จังหวัด และร้านขายยาในโครงการเจอ แจก จบ 
▪สิทธิประกันสังคม: โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้

.

สายด่วน สปสช. 1330

สรุป 

ผู้ติดเชื้อโควิดในระยะนี้มีโอกาสเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.55 ทำให้จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการรุนแรง คือ ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือไม่ได้รับเข็มกระตุ้นตามกำหนด ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวสามารถรักษาและสังเกตอาการที่บ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัส 
ทุคคนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ สวมหน้ากากอนามัย และรับประทานงอาหารเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน 


เริ่มต้นดูแลสุขภาพได้ 365 วัน

RECOMMENDED
SALE

Herbal Film Spray

200.00 บาท
180.00 บาท
RECOMMENDED
SALE

i-Bilberry

2,550.00 บาท
1,500.00 บาท
SALE

เซ็ตเพื่อสุขภาพดวงตา

4,250.00 บาท
2,430.00 บาท

ติดต่อเรา / Contact Us


บริษัท เดลี่ วี เมด จำกัด

101/234 หมู่ที่ 10 บางกร่าง 

เมือง นนทบุรี 11000

 

เวลาทำการ 

จันทร์-เสาร์ 9.00 - 17.00 น.

  02-422-6078

cs.dailyvmed@gmail.com

ติดตามเรา / Follow Us